หน้าร้อนมาถึงแล้ว อุณหภูมิที่เพิ่มสูงขึ้นส่งผลเสียต่อสุขภาพ ทั้งของคนและสัตว์เลี้ยง ซึ่งสัตว์เลี้ยงนั้น น้องๆเค้าพูดออกมาไม่ได้ เจ้าของยิ่งต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ เพราะความร้อนจะส่งผลเสียต่อการทำงานของอวัยวะภายใน ซึ่งเรียกว่า อาการฮีทสโตรก (Heat Stroke) หรือที่รู้จักกันในชื่อ โรคลมแดด เป็นภัยเงียบใกล้ตัวที่ไม่ควรมองข้าม
วิธีการป้องกันไม่ให้สัตว์เลี้ยงของคุณเป็นโรคลมแดด คือการหาวิธีคลายร้อนให้กับสัตว์เลี้ยงของคุณ รวมถึงการให้น้องกินน้ำในปริมาณที่เพียงพอ
มาทำความรู้จักอาการของโรคลมแดด และสิ่งที่เจ้าของสัตว์เลี้ยงควรปฏิบัติในวันที่อากาศร้อน โดนเลื่อนอ่านข้อมูลด้านล่างได้เลย
อาการโรคลมแดด
อาการที่จะพบในสัตว์เลี้ยง “โรคลมแดด” หรือ “ฮีทสโตรก” (Heat Stroke) ในสัตว์เลี้ยง เป็นภาวะที่ร่างกายของสัตว์ไม่สามารถระบายความร้อนออกมาได้ ทำให้อุณหภูมิในร่างกายสูงกว่าปกติ คือ สูงกว่า 41 องศาเซลเซียส เกิดขึ้นได้กับสัตว์เลี้ยงทุกชนิดโดยเฉพาะน้องหมา น้องแมว เพราะปกติสุนัขและแมวจะมีต่อมเหงื่อบริเวณฝ่าเท้าและจมูกเท่านั้น การระบายความร้อนจึงต้องอาศัยการหายใจเท่านั้น
-หายใจหอบหนัก หายใจลำบาก
-แสดงสีหน้าวิตกกังวล หรือจ้องมอง
-จับผิวแล้วอุ่นกว่าปกติ
-เปิดปากหายใจ
-น้ำลายไหลยืด
-นอนราบบนพื้นเย็น
-เหงือกเป็นสีแดงสด
-อาเจียน
-มีอาการชัก เกร็ง
สัตว์ที่มีความเสี่ยงจะเป็นโรคลมแดด
-อายุ มาก หรือกำลังป่วย
-น้องหมาพันธ์แท้ หรือผสมที่จมูกสั้น ปั๊ก ปักกิ่ง และบลูด็อก
-น้องแมวพันธุ์ที่มีหน้าสั้น เช่น เปอร์เซีย
-สัตว์เลี้ยงที่เคยเป็นโรคลมแดดมาก่อน
-สัตว์เลี้ยงที่เป็นโรคหัวใจ
-น้องหมาที่กรน หรือมีปัญหาทางเดินหายใจ
-สัตว์เลี้ยงที่มีน้ำหนักเกิน
-สัตว์เลี้ยงที่อยู่ในกรง หรือสภาพแวดล้อมแบบปิด
อุณหภมูิเท่าไหร่ถึงจะเสี่ยง
20-23°C ความเสี่ยง6/10 แม้ในอุณหภูมินี้ สุนัขก็ยังเสี่ยง หากออกกำลังกายหนักเกินไป
24-27°C ความเสี่ยง8/10 ควรระมัดระวัง โดยเฉพาะน้องหมาและน้องแมว ที่ตัวใหญ่ อ้วน หน้าสั้น จะรู้สึกไม่สบายตัว
28-31°C ความเสี่ยง9/10 อัตรายสำหรับสัตว์ทุกชนิด แต่เป็นอันตรายถึงชีวิต สำหรับสุนัขพันธุ์ใหญ่และลูกสุนัข รวมถึงน้องหมาที่หน้าแบนและอ้วน
32°C+ ความเสี่ยง 10/10เป็นอันตรายสำหรับสัตว์ทุกชนิด โดยไม่ต้องคำนึงถึงขนาดตัว สายพันธุ์ หรืออายุ
สิ่งที่ไม่ควรทำ ในวันที่อากาศร้อน
จากผลวิจัยพบว่า น้องหมา เป็นกลุ่มที่เสี่ยงมากที่สุด โดยเฉพาะน้องหมาหน้าสั้น และขนยาว ขนหนา รองลงมาคือ น้องแมว ส่วนใหญ่จะพบในแมวที่มีอายุมากกว่า 15 ปีขึ้นไป และกลุ่มสุดท้ายคือ หนูตะเภา กระต่าย และเฟอเรท
สิ่งที่ไม่ควรทำในวันอากาศร้อนกับสัตว์เลี้ยงของคุณ
-อย่าทิ้งสัตว์เลี้ยงไว้ในรถ แม้ว่าจะอยู่ในร่มก็ตาม
-อย่าพาสัตว์เลี้ยงเดินทาง ในรถที่การระบายอากาศไม่ดี
-อย่าพาน้องหมาไปวิ่งในตอนกลางวัน
-อย่าให้สัตว์เลี้ยงของคุณ ออกกำลังกายมากเกินไป
-อย่าลืมน้ำสะอาด และควรมีปริมาณที่เพียงพอ
สิ่งที่ควรทำในวันที่อากาศร้อน
-มีพื้นที่ร่ม ให้หลบแดด หลบความร้อนได้
-ให้น้องๆอยู่ภายในบ้าน
-หากไม่มีเครื่องปรับอากาศ ให้ใช้พัดลมเพื่อทำให้อากาศถ่ายเท
-สำหรับหนู นก กระต่าย ให้ใช้ผ้าร่มคลุมกรง เพื่อบังแดด และเพื่อให้ลมพัดเข้ามาได้
-สำรองน้ำให้สัตว์เลี้ยงไว้สองชาม เผื่อกรณีชามนึงคว่ำ หรือน้ำหก
-ขอให้เพื่อนบ้านช่วยตรวจสอบน้องหมาน้องแมวของคุณ
-สำหรับสัตว์เล็ก ฉีดพ่นสัตว์เลี้ยงด้วยขวดสเปรย์ฉีดน้ำ ให้เกิดละอองน้ำบางๆให้น้อง
-สระว่ายน้ำเล็กๆสำหรับน้องหมา เป็นไอเดียช่วยคลายร้อนให้น้องได้ในวันอากาศร้อนจัด
-เลือกช่วงเวลาที่สัตว์เลี้ยงออกกำลังกายหรือวิ่งเล่น ในช่วงที่มีอุณหภูมิไม่สูง เช่น ช่วงเช้าหรือเย็น
-เมื่อน้องหมาเริ่มหอบอย่างหนัก ให้ฉีดน้ำด้วยสายยาง ให้ตัวเปียก เพื่อให้อุณหภูมิร่างกายเย็นลง
-เพิ่มก้อนน้ำแข็งลงในชามน้ำ เพื่อให้เย็นเป็นพิเศษ
-ใส่เกลือแร่สำหรับสัตว์เลี้ยง ผสมในน้ำกิน เพื่อทดแทนอาการขาดน้ำ
Petme Lyte (เพ็ทมี ไลท์) เกลือแร่ผสมวิตามินสำหรับสัตว์เลี้ยง กลิ่นตับ ประกอบด้วย Electrotrolyte, Vitamins, Amino acid, Prebiotic
-ช่วยทดแทนการขาดน้ำ จากอากาศร้อน อาการท้องเสีย หรือออกกำลังกายหนัก
-ลดความเครียด จากการเคลื่อนย้าย หรือถูกกักขัง
-ช่วยฟื้นตัว จากอาการเจ็บป่วย
-ลดปัญหาท้องเสีย เสริมสร้างภูมิต้านทาน ในทางเดินอาหาร